รักษาสายตายาว ด้วย Lasik

[วีดีโอ] สัมภาษณ์ พญ. ฐิดานันท์ เรื่องการรักษาสายตายาว สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) เป็นตามธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นกับ คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการที่เลนส์แก้วตาเสื่อมสภาพ ทำให้ความยืดหยุ่นน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ประกอบกับกล้ามเนื้อตาอ่อนล้าลง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นระยะใกล้ลดลง เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การอ่านเมนูอาหาร การอ่านป้ายราคาสินค้า การใช้โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ต่อไปเราไปดูวีดีโอที่คุณ อั้น พูลผลิน ได้สัมภาษณ์คุณ หมอฐิดานันท์ รัตนธรรม กันดีกว่าว่า สายตายาวนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร แล้วในปัจจุบันรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีแบบไหน อย่างไร การแก้ไขสายตายาวตามอายุ คือ การใส่แว่นตา เมื่อต้องใช้สายตากับการมองระยะใกล้ ซึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป จะต้องมองไกลและใกล้สลับกันไปตามกิจกรรม ทำให้มีปัญหากับการใส่และถอดแว่นสลับไปมา จึงเบื่อกับการใส่ๆ ถอดๆ แว่นสายตายาว ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขปัญหาสายตายาวตามอายุ โดยไม่ต้องใส่แว่นตา ได้แก่ การแก้ไขสายตายาวตามอายุด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 โปรแกรม ดังนี้ โปรแกรม Near Vision (Monovision) เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขปัญหาสายตายาวตามอายุ โดยแพทย์จะทำการแก้ไขให้ตาข้างที่ถนัด […]

ทำความรู้จักการทำเลสิกคืออะไร?

banner การทำเลสิค

การทํา เลสิก (LASIK) คืออะไร? LASIK (laser in-situ keratomileusis) คือ เทคโนโลยีสำหรับแก้ไขปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียง แบบมีการแยกชั้นกระจกตาก่อน จากนั้นจึงใช้แสงเลเซอร์ไปปรับแต่งความโค้งของกระจกตา เพื่อให้แสงตกกระทบแล้วโฟกัสลงจอประสาทตาพอดี(ทำให้การมองเห็นชัดขึ้น) โดยแสงเลเซอร์ที่เราใช้นี้ เรียกว่า Excimer laser เป็นเลเซอร์เย็นชนิดที่ปรับแต่งพื้นผิวเท่านั้น จึงมีผลเฉพาะบริเวณผิวกระจกตา ไม่สามารถทะลุทะลวงเข้าไปในลูกตาได้ 1. การแยกชั้นกระจกตาบางส่วนออกมาเป็นชั้นบางๆ 2. การใช้แสงเลเซอร์เพื่อปรับความโค้งผิวกระจกตา (Excimer laser)โดยการทำ LASIK ไม่สามารถใช้วิธีดมยาสลบได้ แต่จะทำโดยใช้ยาชาหยอดตาเท่านั้น เพราะระหว่างทำจะมีบางขั้นตอนที่จะต้องอาศัยความร่วมมือของผู้รับบริการร่วมด้วย ผู้ที่เหมาะสม ที่จะรับการรักษาด้วยวิธีเลสิค มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป กระจกตาไม่บางเกินไป ขนาดรูม่านตาไม่ใหญ่เกินไป ไม่เป็นโรคตาแห้งอย่างรุนแรง มีสายตาคงที่เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ไม่เป็นโรคบางชนิดที่ทำให้แผลหายช้าหรือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น เบาหวาน , SLE ไม่อยู่ในระยะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร มีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อภาวะเสี่ยง หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ไม่มีประวัติเป็นโรคทางตาบางชนิด ได้แก่ ต้อหิน […]